Last updated: 27 ก.ย. 2565 | 20125 จำนวนผู้เข้าชม |
นั่งเรือไหว้พระ 3 วัดในกรุงเทพง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
หากพูดถึงการเดินทางไหว้พระ 3 วัดในกรุงเทพ หลายคนอาจไม่อยากเผชิญต่อรถติด หรือต้องวนหาที่จอดรถ วนไปวนมา สรุปไม่ได้ไหว้กัน เพราะที่จอดรถไม่มี นี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการไหว้พระ 3 วัด ด้วยวิธีการนั่งเรือ และไม่ต้องนั่งรถเมล์ให้ยุ่งยากด้วย
ซึ่งหากใครมีรถ ต้องมานั่งคิดว่า เอ๊ะ!! เราจะจอดรถที่ไหนดี ฟูแนะนำว่าหากใครอยากไหว้พระแถวนี้นะคะ ใกล้สนามหลวง ฟูแนะนำให้ไปจอดรถที่วัดระฆัง หรือวัดกัณยาณมิตรเลยค่ะ เพราะวัดเหล่านี้มีที่จอดรถเยอะมาก
แต่เริ่มแรกฟูเลือกไปจอดรถที่วัดระฆังนะคะ ซึ่งมีค่าจอดรถชั่วโมงละ 20 บาท และวัดระฆังเป็นจดเริ่มต้นวัดแรกของการไหว้พระนะคะ
หลังจากที่จอดรถกันเสร็จแล้วก็เดินเข้าไปไหว้พระ ภายในวัดระฆัง
ซึ่งเราจะต้องไหว้จากภายนอกพระอุโบสถก่อนค่ะ ด้วยคาถาชินบัญชร ใครที่ท่องไม่ได้ก็จะมีบทสวดมนต์ให้เราท่องตามนะคะ แต่สำหรับฟูแล้วก็ท่องเป็ยประจำค่ะ เลยไม่ต้องพึ่งบทสวดมนต์เลย
เมื่อไหว้พระจากภายนอกเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าไปภายในพระอุโบสถกัน
ซึ่งภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 4 ศอกเศษ วัดแห่งนี้ได้สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับขึ้นเป็นวัดอารามหลวงในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
จากที่พระประธานในวัดระฆังมีอายุมากกว่า 100 ปี จึงเป็นสิริมงคลต่อผู้มากราบไหว้ค่ะ และยังมีบารมีของพระพุฒาจารย์โตจนนำไปสู่ความเชื่อที่ว่า ความีชื่อเสียงโด่ดดังทางด้านกิจาการการงานเฉกเช่นระฆังที่ก้องกังวาลแผ่ไปไกล
บริเวณท่าเรือตรงนี้จะสามารถนั่งเรือไปยังท่าช้างได้ค่ะ จะมีเรือข้ามฝากอยู่ ซึ่งบริเวณนี้จะมีพระพุฒาจารย์โตให้สักการะกราบไหว้ เพื่อความเป็นสิริมงคล
ฟูนั่งจากท่าเรือวัดระฆัง มาลงท่าเรือท่าช้าง ซึ่งราคา 4 บาทเท่านั้นค่ะ บริเวณท่าช้าง และท่าเตียน หากใครอยากมาไหว้พระแถวนี้ ได้แก่ วัดพระแก้ว ศาสหลักเมือง วัดโพธิ์ ก็สามารถมาลงท่าช้าง และท่าเตียนได้เลยค่ะ แต่ถ้าใครอยากนั่งเรือต่อเพื่อไปวัดอรุณ และวัดกัณยาณมิตร ก็สามารถนั่งเรือจากท่าช้างไปได้ค่ะ ซึ่งวัดต่อไปที่ฟูจะไปคือวัดอรุณค่ะ
สะเดาะห์เคราห์วัดอรุณ
วัดอรุณที่เราเรียกชื่อกันสั้น ๆ นั้นชื่อเต็มมาจาก วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในอดีตเดิมเคยชื่อวัดมะกอก ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดแจ้ง จากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีในพ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดในตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่เป็นวัดแจ้ง ซึ่งในสมัยก่อนนั้นคนมักเรียดติดปากว่า วัดแจ้ง จนคุ้นชิน จนมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอรุณ
ซึ่งสามารถติดตามบทความ สะเดาะเคราห์ ล้างอาถรรพ์ พระปรางค์เอกลักษณ์ของไทย วัดสวยในกรุงเทพ ที่วัดอรุณ นี่เลยค่ะ ฟูจะบอกละเอียดมากว่าควรไหว้ตรงไหน จุดไหน แล้วเสริมเรื่องอะไรค่ะ
หลังจากไหว้พระวัดอรุณกันแล้ว ฟูดันไปเจอเรือที่จะไปยังวัดกัณยาณมิตร ซึ่งขึ้นจากตรงท่าวัดอรุณเลย
และนี่ฟูดันได้ตั๋วนี่มาค่ะ เป็นตั๋วเหมาราคา 30 บาท ล่องเรือไหว้ได้ทั้ง 3 วัดแบบไปกลับ ถือว่าคุ้มและดีมาก แอบเสียดายไปไหว้วัดระฆังแล้ว แต่ไม่เปงไรค่ะ เพราะฟูต้องกลับไปวัดระฆังเหมือนเดิม เพราะจอดรถไว้ที่นั้น
และแค่ไม่ถึง 5 นาที ก็ล่องเรือถึง วัดกัณยาณมิตรแล้ว ใกล้มากเลย
มิตรที่ดี ไหว้พระวัดกัณยาณมิตร
วัดกัณยาณมิตร สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 3 เมื่อพ.ศ.2368 วัดแห่งนี้ขึ้นชื่อว่าหากใครมากราบไหว้ก็จะพบแต่มิตรที่ดีราบล้อม
เดินเข้าไปภายในวัด ซึ่งมีลานจอดรถกว้างขวางมากค่ะ
การไหว้ที่นี้จะเป็นการไหว้แบบจีน โดยเราสามารถไหว้เทพข้างนอกก่อนนะคะ พร้อมปักธูปจุดละ 3 ดอก ให้ครบทุกจุด
จุดที่ 1 ไหว้ฟ้าดิน
จุดที่ 2 ไหว้หลวงพ่อโตในพระวิหาร
จุดที่ 3 ไหว้หลวงพ่อโต องค์จำลอง
จุดที่ 4 ไหว้พระสังกัจจายน์
จุดที่ 5 ไหว้หลวงพ่อโต องค์จำลอง
กระถางธูปข้างนอกเป็นกระถางธูปฟ้าดิน เราจะมองเห็นประตูสวรรค์ เป็นการวางโหว้งจุ้นไว้ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างวัดตั้งแต่เริ่มต้นเลยค่ะ เราสามารถเดินลอดผ่านประตูเข้าไป เพื่อไปไหว้ทีกงด้านหน้า
ภายในพระวิหารจะประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เรียกว่า พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต
พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีหน้าตักกว้าง 11.75 เมตร สูง 15.44 เมตร ซึ่งพระราชประสงค์ของร. 3 มีความประสงค์ให้เหมือนกรุงเก่า คือ มีพระโต อยู่นอกกำแพงเมือง คล้ายวัดพนัญเชิงในอยุธยา หรือเรียกแบบจีนว่า “ซำปอกง”
พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปแบบเดียวกับหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิงที่มีความสูง 19 ใตร หน้าตักกว้าง 20 เมตร
ที่นี้จะมีระฆังยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วยค่ะ
23 มิ.ย. 2563